วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปิดตัวไก่กระดูกดำตุ๋นยาจีนบรรจุกระป๋อง

ในวันที่ 29 ธค. 56 ที่ผ่านมา ได้รับเชิญจาก อ.สุชน ม.เชียงใหม่ ในการเปิดตัวไก่กระดูกดำตุ๋นยาจีน อ.แม่สลอง เชียงราย ภายใต้การดำเนินงานของ  หมู่บ้านไก่ดำตุ๋นยาจีนดอยแม่สลอง ซึ่งเปิดตัวพร้อมๆ กับเทศการชิมชา ด้วยความร่วมมือกว่า 6 หน่วยงาน คือ ก.วิทย์ฯ ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ กรมปศุสัตว์  วกท.เชียงราย มรภ.เชียงราย และ อบต.แม่สลอง 
นายอำเภอแม่สลองให้เกีัยรติเยี่ยมชมบูีธและชุมไก่กระดูกดำตุ๋นยาจีน และไก่กระดูกทำเทอริยากิ
ไก่กระดูกดำตุ๋นยาจีนบรรจุกระป๋องวางจำหน่ายในร้านชิมชา
3 ทหารเสือ อ.สุชน ม.เชียงใหม่ ผอ.จรัล ผอ.ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เชียงราย และพี่คณิต ผู้เชี่ยวชาญ เตรียมความพร้อมในการเปิดตัวไก่ดำบรรจุกระป๋อง






ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

มะนาว พืชอาหารที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคนไทย เป็นทั้งอาหารและใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ในช่วงฤดูแล้งมะนาวมีราคาแพง แต่ความต้องการของตลาดมีสูง ถ้าเกษตรกรสามารถปลูกมะนาวให้มีผลดกและออกลูกในฤดูแล้งได้จะเป็นการสร้างราย ได้อย่างงาม

จากความคิดดังกล่าวข้างต้น พันโทจรัญ หนูเนียม อายุ 69 ปี อดีตนายทหารกรมสรรพาวุธทหารบก สังกัดกองทัพบก เจ้าของสวนส้มผู้พัน ซึ่งอาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 63/6 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช หนุ่มใหญ่ผู้มีบุคลิกภาพ "พูดเสียงดัง ฟังชัดแบบคนใต้" เป็นคนหนึ่งที่มีใจรักงานด้านการเกษตร โดยใช้พื้นที่ 17 ไร่เศษ ทำเป็นสวนส้มเขียวหวาน สวนกระท้อน สวนมังคุด และปลูกแซมด้วยพืชไร่ พืชผัก หลังจากเกษียณจากราชการเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจให้กับอาชีพทำการเกษตร (ทำสวน) โดยพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลง เช่น การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำสารขับไล่แมลง การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยการอ่านตำรา การศึกษาดูงาน การเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ทางราชการหรือเอกชนจัด

พันโท จรัญ เล่าให้ฟังว่า เมื่อปลายปี 2549 ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรค ให้ผลดก ผลโต น้ำเยอะ และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 1 ปี บวกกับความคิดที่คิดจะปรับเปลี่ยนอาชีพการทำสวนมังคุด จึงได้เดินทางไปศึกษาดูงานและซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวพิจิตร 1 ดังกล่าวมาจากจังหวัดพิจิตร จำนวน 500 กิ่ง มาปลูกแทนในพื้นที่สวนมังคุดเดิม โดยโค่นต้นมังคุดทิ้ง แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ ทำคูระบายน้ำ แล้วนำบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80-100 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร มาวางเรียงให้ได้ระยะห่าง 3x4 เมตร ที่ก้นบ่อใช้ฝาซีเมนต์ขนาดเดียวกันมาวางรองเพื่อป้องกันไม่ให้รากต้นมะนาว ชอนไชลงถึงพื้นดิน เมื่อเตรียมบ่อซีเมนต์เสร็จ จัดวางระบบน้ำ นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก ขณะนี้ปลูกไปแล้วกว่า 500 ต้น โดยปลูกในบ่อซีเมนต์ 200 ต้น และปลูกลงดิน 300 ต้น

สำหรับขั้นตอนในการปลูก
เริ่ม จากการเตรียมดิน ควรเลือกหน้าดินที่มีอินทรียวัตถุเพียงพอ ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 2 : 1 การเลือกกิ่งพันธุ์ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่ การปลูก ขุดหลุมเล็กกลางวงบ่อ ปลูกกิ่งพันธุ์มะนาวโดยแผ่รากไม่ให้ขดเป็นก้อน กลบดินที่โคนต้น ปักไม้ผูกกับต้นมะนาวเพื่อป้องกันการโยกของต้น ใช้เศษหญ้าคลุมหน้าดิน รดน้ำให้ชุ่ม การให้น้ำ สัปดาห์แรกรดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ให้ดินชุ่ม ครั้งต่อไปรดน้ำวันเว้นวันและรดน้ำเมื่อดินแห้ง การให้ปุ๋ย เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ปริมาณ 1 ช้อนแกงครึ่ง ต่อต้น สลับกับปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ปริมาณ 1 ช้อนแกงครึ่ง ต่อต้น โดยหว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำตาม ควรใส่ปุ๋ยครั้งละน้อยๆ ทุก 20 วัน อาจให้ปุ๋ยทางใบและฮอร์โมน โดยผสมสารป้องกันโรค หลังเก็บลูกและตัดแต่งกิ่ง ให้เติมดินร่วนผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1 : 1 ในวงบ่อให้เต็มปากบ่อโดยการพูนดินเป็นรูปหลังเต่าและใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ อัตรา 1 ช้อนแกงครึ่ง ต่อต้น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การตัดแต่งกิ่ง
หลัง จากเก็บลูกให้ตัดแต่งกิ่งพุ กิ่งไขว้กัน กิ่งที่อยู่ชิดดินให้เหลือเฉพาะกิ่งหลัก ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง การค้ำกิ่งมะนาวที่ปลูกในบ่อซีเมนต์มีรากอยู่ในพื้นที่จำกัด เมื่อติดลูกมากอาจทำให้ต้นล้มหรือกิ่งหักได้ จึงควรค้ำกิ่งแบบคอกสี่เหลี่ยมหรือใช้ไม้ง่าม การเก็บลูกมะนาวที่ปลูกในบ่อซีเมนต์ จะเริ่มติดลูกเมื่อปลูกได้ประมาณ 8 เดือน ควรเก็บลูกทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ปีต่อมาจึงค่อยให้มีลูกมาก เมื่อลูกมะนาวแก่จัดไม่ควรทิ้งไว้นาน ควรเก็บลูกทันทีเพราะอาจทำให้ต้นทรุดได้ง่าย การบังคับให้มะนาวออกลูกนอกฤดู ให้ต้นมะนาวอดน้ำในเดือนกันยายน-ตุลาคม โดยใช้ผ้าพลาสติคคลุมรอบวงบ่อ งดการให้น้ำ 10-15 วัน เมื่อใบมะนาวเหี่ยวหรือร่วงบ้าง ให้เอาผ้าพลาสติคออกและให้น้ำตามปกติ พร้อมให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 ต้นละ 1-2 ช้อนแกง หลังจากนั้น 10-15 วัน ต้นมะนาวจะออกดอก บำรุงต้นมะนาวตามปกติอีก 4-5 เดือน จะสามารถเก็บผลมะนาวได้

ผลผลิต จะมีแม่ค้ามารับซื้อ ราคาขาย ขายเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 30-40 บาท 1 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตประมาณ 12-18 ลูก และในช่วงที่มะนาวมีราคาแพงอาจขายได้ถึงกิโลกรัมละ 50-60 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถขายกิ่งพันธุ์ได้ในราคากิ่งละ 200 บาท

ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน สวนส้มผู้พันจะเป็นแปลงเรียนรู้ทางการเกษตรของคนในชุมชนและพันโทจรัญจะเป็น ผู้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเข้ามาจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ ถ่ายทอดความรู้ ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชมและซื้อกิ่งพันธุ์สำหรับนำไปปลูกได้ที่สวนส้มผู้พัน ตามที่อยู่ข้างต้น โทรศัพท์ (081) 968-1438, (081) 085-1374 ได้ทุกวัน


ขอขอบคุณ มติชนเทคโนชาวบ้าน วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 452

รวมทิปทริคและเทคนิคการเกษตรพึ่งตนเอง


1.เป็นเทคนิคการทำปุ๋ยหมักโดยไม่ต้องกลับกองปุ๋ยและไม่ต้องอัดอากาศ ตามไปดูตามวีดีโอลิงค์นะครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/44/Ux8vnqbK5IQ
2.การปลูกกล้วยในสวนผลไม้ เพื่อเพิ่มความชื้นในหน้าแล้งทำให้ไม่ต้นรดน้ำมากในหน้าแล้ง ตามวีดีโอลิ้งค์นะครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/42/nUgdGQGUojI
3.วิธีแก้ปัญหาดอกบัวออกดอกน้อย สำหรับคนทำนาบัวครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/36/8EdOcuczgUs
4.เทคนิคการทำน้ำเขียวในบ่อปลานิลเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารปลา สำหรับคนเลี้ยงปลานิลครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/50/MIKrPlRk1II
5.เทคนิคการทำมะละกอให้เก็บเมล็ดได้โดยไม่กลายพันธุ์ เทคนิคนี้ฝากให้หลายท่านที่ปลูกมะละกอครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/51/Njv00nR4JD4
6.เทคนิกการใช้เชื้อราขาวในการจัดการกับเพลี้ยกระโดดที่เป็นปัญหาของชาวนาครับ
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/57/63S1_gwoK5o
ึ7.เทคนิคการหลอกกบให้ออกไข่และผสมพันธุ์ออกลูกไดปีละ 3-4 ครั้ง
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/101/f6wsQv88RZ8
8.เทคนิคการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารฟอกขาว
http://www.youtube.com/user/bankanai#p/u/104/u8zlAZ-rvX0
9.เทคนิคการใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวเพื่อประหยัดการใช้ปุ๋ย ไปขอแผ่นเทียบสีได้ฟรีตามศูนย์วิจัยข้าวใกล้บ้านครับ
http://www.youtube.com/user/somartBBBB#p/u/56/BFah1o9ie1k

การทำแกลบดำใช้แบบง่ายๆ

สืบเนื่องมาจาก แกลบดำในปัจจุบัน ค่อนข้างมีราคาสูง(สำหรับอาตมา) และค่อนข้างหายาก เพราะในการซื้อแต่ละที ต้องใช้เงินจำนวนมากและต้องซื้อทีละหลายๆตันเพราะส่วนใหญ่โรงสีที่ขายเขาจะ ขายเป็นตัน ทำให้ต้องหารถ 6ล้อไปขน  ดังนั้น อาตมาจึงทำแกลบดำ ขึ้นมาใช้เองแบบง่ายๆ โดยลงทุนไม่กี่ร้อยบาท หรือบางคนอาจไม่ต้องใช้เงินเลยสักบาท

วิธีทำ  

1. หาปี๊ปมาเจาะรูให้ทั่ว เพื่อระบายความร้อนจากเตาไฟ ที่จะใช้เผาแกลบดำ เจาะให้มากเท่าไรก็ได้ ส่วนขนาดของรูแล้วแต่เราครับ อันนี้อาตมาใช้เครื่องเชื่อมในการเจาะรู ส่วนสังกะสี อาตมาซื้อมาในราคา 150 บาท เพราะหาสังกะสีเก่าไม่ได้ ใครหาได้ก็ไม่ต้องซื้อ ส่วนปี๊ป อาตมาได้มาฟรี งานนี้ลงทุนแค่150 บาท แกลบนั้น สามารถหาขอได้ฟรี ตามโรงสีทั่วไป

เจาะรูด้านบน เพื่อทำเป็นปล่องระบายความร้อน ขึ้นข้างบน เพื่อสังเกตควันไฟ ว่าเป็นสีดำหรือสีขาว


2.ก่อ กองไฟขึ้นมา เพื่อจะใช้ในการเผาแกลบ ไม่ต้องก่อกองใหญ่มากก็ได้ครับ เอาฟืนนิดหน่อยมาก่อ กะขนาดให้พอดีกับปี๊ปนะครับ เพื่อที่เวลาเอาปี๊ปคลุมลงไปจะได้พอดี เพราะถ้าก่อใหญ่กว่าปากแล้ว จะเอาปี๊ปลงไปยาก เพราะปี๊ปมันร้อน แล้วเราค่อยเอาฟืน ใส่ไปทางปล่องไฟทีหลังก็ได้ครับ


3.เอาแกลบ ลงไปใส่ในปี๊ปที่เราเตรียมไว้ ครั้งนี้อาตมาใช้แกลบ4กระสอบ ใช้เวลาในการเผา ประมาณ  ชั่วโมง ครึ่ง เวลาที่เอาแกลบลงไป แกลบจะเริ่มเผา เราต้องคอยกลับแกลบ ให้เผาให้สุก ให้ทั่วกันครับ ในระหว่างที่เรา เราสามารถ รดน้ำผักควบคู่กันได้ สัก10นาที ค่อยมากลับแกลบ ให้ส่วนที่ข้างนอกกลับเข้าไปข้างใน ตอนนี้แกลบจะทำการเผาแกลบกันเอง  ก่อนเอาแกลบลงนะครับ ปล่อยให้ไฟในเตา ร้อนสักระยะนึงก่อน ค่อยเอาแกลบเทลงไปนะครับ

ควันไฟก็จะพวยพุ่งออกมาทางปล่องไฟ เหมือนเตาปฏิกรนิวเคลียร์ 

ต้อง คอยกลับแกลบนะครับ ให้แกลบที่อยู่ด้านนอก ผสมกับแกลบที่โดนเผาแล้ว ให้แกลบเผากันเอง ผสมๆให้ทั่วกัน สัก10 นาที ค่อยมากลับแกลบ หรืออาจจะน้อยกว่ากันก็ได้ ส่วนฟืนต้องคอยเติมลงไปในปล่องไฟ ไม่ต้องเติมเยอะนะครับ กะเอาครับ 

เมื่อได้แกลบดำแล้ว สุดท้าย เราก็รดน้ำเพื่อลดความร้อนของแกลบดำ 

เพียง เท่านี้ เราก็สามารถ มีแกลบดำไว้ใช้ได้อย่างง่ายๆครับ ใส่ต้นไม้ ใส่พืชผักของเราได้ โดยที่ไม่ต้องไปซื้อ ในปริมาณที่มากๆ ทำทุกวัน เดี๋ยวก็ได้ในปริมาณที่เยอะเองครับ

หมายเหตุ 
เนื่องจากการเผาแกลบดำ มีผลต่อระบบหายใจของคนข้างเคียง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจากเสียงด่า ควรหลีกเลี่ยงการเผาในที่ชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ดุลการค้าและสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกมากขึ้น ในการดำเนินงานได้มีการจัดทำ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า AEC Blueprint โดยเป็น การกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2553 ส่วนประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องให้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ดังนั้นทำให้ในปี 2558 อาเซียนจะไม่มีการเก็บภาษีสินค้ากับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียน และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ส่งผลให้ GDP ของประเทศสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 ส าหรับประเทศไทยนั้นเป็นอันดับสองที่มูลค่า GDP จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.75 รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ
2. ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียน
ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนหลังจากที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 นั้น ทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,334.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,225.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 827.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ได้ดังนี้
1) การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าหลักจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 คือส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 623.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 436.8 127.4 และ 80.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
2) ยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับสอง คือ 851.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ
3) ไทยส่งออกเคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 579.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซียเพิ่มขึ้น 262.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯส าหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียมากที่สุด รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,121.6 936.1 และ 692.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าเป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1,185.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนี้
1) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มมากที่สุดเป็น 471.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 401.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2) ปิโตรเลียมจะมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุดและพม่าเป็นอันดับสอง มีมูลค่าเท่ากับ 165.1 และ 157.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก และเหล็ก โลหะ จะถูกนำเข้าเพิ่มขึ้นสินค้าละมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนเหล็กและโลหะจะถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด
เมื่อพิจารณาดุลการค้าของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หลังจากในปี 2558 ที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ลดภาษีเป็น 0% แล้ว พบว่าประเทศไทยมีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลมากขึ้นกับประเทศเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง 316.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมาเลเซีย 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นพบว่าไทยมีการขาดดุลกับพม่าเพิ่มขึ้น 66.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าปิโตรเลียมมาจากพม่าเพิ่มมากขึ้น
1) ไทยเกินดุลการค้าในสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้น 720.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
2) ดุลการค้าของสินค้าอาหารแปรรูปจะเกินดุลมากขึ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) สินค้าเกษตรและปศุสัตว์มีมูลค่าดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น 239.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลมากขึ้นกับประเทศในกลุ่ม CLMV
4) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เกินดุลมากขึ้น 184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด 147.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขาดดุลกับประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 97.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) สินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นคือแร่ต่างๆ ปิโตรเลียม และเหล็ก/โลหะ
การศึกษาพบว่า สินค้าที่ไทยจะเกินดุลการค้า และขาดดุลการค้า หลังจาก ประเทศกลุ่ม อาเซียน ลดภาษี
1) เกินดุลการค้า ได้แก่ เกษตรแปรรูป เกษตรและปศุสัตว์ ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม และเหมืองแร่
2) ขาดดุลการค้า ได้แก่ เหล็กและโลหะ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆและประเทศที่ไทยเกินดุลการค้าและขาดดุลการค้า
รายการ สินค้า ประเทศเกินดุลมากขึ้น
1. ยานยนต์และชิ้นส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
2. เกษตรแปรรูป มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ขาดดุลมากขึ้น
1. แร่ อินโดนีเซีย ลาว
2. ปิโตรเลียม พม่า มาเลเซีย
3. ข้อเสนอแนะ
1) ควรเร่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ประชาชนและภาคสังคม เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวได้ทัน
2) ผลักดันการอ านวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อประกอบการปรับตัวของภาคการผลิต


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/8#ixzz2prxODC75

ผลกระทบข้าวไทยใน AEC และการวางแผนปรับตัวให้อยู่รอด

ภาพรวมการผลิตข้าวไทยกับประเทศในอาเซียน
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนในประเทศอาเซียน สำหรับประเทศไทยนั้นข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมากมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งจากขนาดพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศกว่า 130 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีสัดส่วนถึงร้อยละ 50 หรือกว่า 62 ล้านไร่ และจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกข้าวในปี 2531 มีมูลค่า 69,352.8 ล้านบาท และเพิ่มเป็น203,219.1 ล้านบาท ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 193.0 ระหว่างปี 2531-2551 เมื่อพิจารณาการส่งออกข้าวในปี 2551 พบว่ามีสัดส่วนร้อยละ 30.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
นอกจากนี้ข้าวยังเป็นรายได้หลักของชาวนาถึง 3.7 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนเกษตร 5.6 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด และเป็นแหล่งจ้างงานเกษตรกรกว่า 4 ล้านครัวเรือน ซึ่งสามารถสร้างรายได้และความมั่นคงให้ภาคเกษตรไทยเป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกันแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตหลักและส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าข้าวของไทย คือ พม่า เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และกัมพูชา ซึ่งจากรายงานสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) สามารถพิจารณาได้ดังนี้
สรุปยุทธศาสตร์ข้าวไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย
1.1 รัฐควรให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
1.2 ควรมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้เห็นความคืบหน้าของงานตามแผนยุทธศาสตร์
1.3 ควรมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระยะ เพื่อประเมินความคืบหน้าและปัญหาในการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. สร้างตราสินค้าข้าวไทย(Thai Rice Brand) ในตลาดอาเซียน
2.1 สร้างเอกลักษณ์ข้าวไทย โดยใช้จุดเด่นในเรื่องความหลากหลายของชนิดพันธ์ข้าวและคุณภาพข้าวของไทยที่หนือกว่าของประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นจุดขายที่สำคัญ ในการสร้างความแตกต่างของข้าวไทยกับข้าวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
2.2 กำหนดตำแหน่งของข้าวไทยในในอาเซียนสำรวจความต้องการของผู้บริโภคข้าวในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างตราสินค้าที่กำหนดคุณภาพข้าวและระดับราคาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
2.3 ปรับปรุงมาตรฐานข้าวไทย ให้เป็นาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมั่นใจในคุณภาพข้าวของไทยว่ามีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้างและปลอดการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMOs)
2.4 ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกข้าวของไทยหันมาสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างจุดยืนที่มั่นคงของข้าวไทยในตลาดต่างประเทศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์
3. ปรับปรุงโฆษณาและประชาสัมพันธ์
3.1 ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่รู้จักของประเทศนั้นๆ
3.2 ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ควรมีความต่อเนื่องพอที่จะทำให้สินค้าข้าวไทยเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในทุกระดับ
3.3 ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันในการออกบูธสินค้าในห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองชิมสินค้าได้โดยตรง
4. บริหารจัดการมาตรการนำเข้าข้าวให้สามารถปฏิบัติได้จริง
4.1 กำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ
4.2 ควรออกกฎหมายกำหนดมาตรการลงโทษ ที่สามารถหยุดการลักลอบนำเข้าข้าวตามตะเข็บชายแดน
4.3 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการลดภาษีข้าว ได้มีความเข้าใจในมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ตามที่รัฐกำหนด
4.4 ด่านนำเข้าข้าวต้องมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และจำนวนด่านต้องมีความเพียงพอในการที่จะสกัดข้าวที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาในประเทศไทย
4.5 มีแผนงานในการติดตามและตรวจสอบที่แน่นอนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่กำหนดใช้ แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4.6 ต้องมีหน่วยงานในการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันการทุจริตในการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นที่ผ่านมา
ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/51#ixzz2prxGduGJ

เมื่อเปิด AEC ผลกระทบธุรกิจการเกษตร ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศต่างๆ จะทาให้ไทยขยายตลาดออกไปกว้างมากขึ้น โดยตลาดอาเซียน+6 ช่วยให้ไทยเข้าถึงตลาด 16 ประเทศ ที่มีจำนวนประชากรกว่า 3,300 ล้านคน หรือกว่าครึ่งของประชากรโลก (6,900 ล้านคน)
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดยักษ์เข้ามาทำลายร้านของชำ (โชห่วย) ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนหมื่นจำนวนแสนราย จุดมุ่งหมายส่วนหนึ่ง ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในสาขาวิชาชีพ 8 สาขานั้น แรงงานประเทศที่มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่เหนือกว่าคนไทยก็จะได้เปรียบ สามารถเดินทางเข้ามาทางานในประเทศไทยได้อย่างเสรี คนไทยอาจจะมีโอกาสตกงาน
อย่างไรก็ตาม หากไทยไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดี การเปิด AEC อาจจะส่งผลกระทบได้ เช่น
1) ผู้ประกอบการต้องแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น
2) สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะเข้ามาวางจาหน่ายในประเทศมากขึ้น และ
3) ขาดแคลนแรงงานฝีมือเนื่องจากแรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปในประเทศที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่า
สินค้าที่กังวลว่าอาจจะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น
-น้ำมันปาล์มที่ไทยต้องแข่งขันกับมาเลเซีย (มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ามันปาล์มอันดับหนึ่งของโลก)
-เมล็ดกาแฟที่ไทยต้องแข่งขันกับเวียดนาม (เวียดนามผลิตมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล)
-มะพร้าวที่ไทยต้องแข่งขันกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตมะพร้าวอันดับหนึ่งของโลก รองมาคือ ฟิลิปปินส์) และ
ชาที่ไทยต้องเตรียมแข่งขันกับอินโดนีเซีย(อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตอันดับสี่ของโลก รองจากอินเดีย จีนและศรีลังกา ตามลำดับ)
ส่วนการเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งธุรกิจบริการไทยมีความเข้มแข็ง เช่นการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการไทยสามารถรุกออกไปให้บริการในตลาดอาเซียนและขยายการให้บริการภายในประเทศแต่ธุรกิจบริการที่ไทยน่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาให้บริการของผู้ให้บริการอาเซียนและต้องแข่งขันสูงในอาเซียน ได้แก่ โลจิสติกส์และสถาปนิก ซึ่งไทยต้องแข่งขันกับสิงคโปร์ที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยีสูงกว่า
ในภาคเกษตรนับว่าเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยให้สินค้าเกษตรของ 6 ประเทศในอาเซียนมีภาษีเป็น 0% ฉะนั้นยังเหลืออีก 4 ประเทศ คือเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ที่จะปรับภาษีให้เป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศก็มีสินค้าเกษตรบางตัวเท่านั้นที่มีความอ่อนไหวที่จะต้องมาตกลงกัน เช่น ไทยมีกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งปัจจุบันกำหนดภาษีอยู่ที่ 20-40%
ที่มา: บทคัดย่อจาก สยามรัฐ


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/138#ixzz2prx8E4rw