วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ผลกระทบข้าวไทยใน AEC และการวางแผนปรับตัวให้อยู่รอด

ภาพรวมการผลิตข้าวไทยกับประเทศในอาเซียน
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนในประเทศอาเซียน สำหรับประเทศไทยนั้นข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมากมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งจากขนาดพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศกว่า 130 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีสัดส่วนถึงร้อยละ 50 หรือกว่า 62 ล้านไร่ และจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกข้าวในปี 2531 มีมูลค่า 69,352.8 ล้านบาท และเพิ่มเป็น203,219.1 ล้านบาท ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 193.0 ระหว่างปี 2531-2551 เมื่อพิจารณาการส่งออกข้าวในปี 2551 พบว่ามีสัดส่วนร้อยละ 30.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
นอกจากนี้ข้าวยังเป็นรายได้หลักของชาวนาถึง 3.7 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนเกษตร 5.6 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด และเป็นแหล่งจ้างงานเกษตรกรกว่า 4 ล้านครัวเรือน ซึ่งสามารถสร้างรายได้และความมั่นคงให้ภาคเกษตรไทยเป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกันแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตหลักและส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าข้าวของไทย คือ พม่า เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และกัมพูชา ซึ่งจากรายงานสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) สามารถพิจารณาได้ดังนี้
สรุปยุทธศาสตร์ข้าวไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย
1.1 รัฐควรให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
1.2 ควรมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้เห็นความคืบหน้าของงานตามแผนยุทธศาสตร์
1.3 ควรมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระยะ เพื่อประเมินความคืบหน้าและปัญหาในการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. สร้างตราสินค้าข้าวไทย(Thai Rice Brand) ในตลาดอาเซียน
2.1 สร้างเอกลักษณ์ข้าวไทย โดยใช้จุดเด่นในเรื่องความหลากหลายของชนิดพันธ์ข้าวและคุณภาพข้าวของไทยที่หนือกว่าของประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นจุดขายที่สำคัญ ในการสร้างความแตกต่างของข้าวไทยกับข้าวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
2.2 กำหนดตำแหน่งของข้าวไทยในในอาเซียนสำรวจความต้องการของผู้บริโภคข้าวในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างตราสินค้าที่กำหนดคุณภาพข้าวและระดับราคาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
2.3 ปรับปรุงมาตรฐานข้าวไทย ให้เป็นาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมั่นใจในคุณภาพข้าวของไทยว่ามีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้างและปลอดการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMOs)
2.4 ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกข้าวของไทยหันมาสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างจุดยืนที่มั่นคงของข้าวไทยในตลาดต่างประเทศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์
3. ปรับปรุงโฆษณาและประชาสัมพันธ์
3.1 ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่รู้จักของประเทศนั้นๆ
3.2 ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ควรมีความต่อเนื่องพอที่จะทำให้สินค้าข้าวไทยเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในทุกระดับ
3.3 ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันในการออกบูธสินค้าในห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองชิมสินค้าได้โดยตรง
4. บริหารจัดการมาตรการนำเข้าข้าวให้สามารถปฏิบัติได้จริง
4.1 กำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ
4.2 ควรออกกฎหมายกำหนดมาตรการลงโทษ ที่สามารถหยุดการลักลอบนำเข้าข้าวตามตะเข็บชายแดน
4.3 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการลดภาษีข้าว ได้มีความเข้าใจในมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ตามที่รัฐกำหนด
4.4 ด่านนำเข้าข้าวต้องมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และจำนวนด่านต้องมีความเพียงพอในการที่จะสกัดข้าวที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาในประเทศไทย
4.5 มีแผนงานในการติดตามและตรวจสอบที่แน่นอนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่กำหนดใช้ แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4.6 ต้องมีหน่วยงานในการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันการทุจริตในการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นที่ผ่านมา
ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/51#ixzz2prxGduGJ