วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

สิงคโปร์ ใช้ประโยชน์ AEC ตั้งบริษัท ฮุบธุรกิจข้าวไทย ???

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การสัมมนาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์รายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงตลาดจากภูมิภาคสู่สากลใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ และเคหะสิ่งทอ และกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ภาคเอกชนได้แสดงความเป็นห่วงและต้องการให้ภาครัฐเร่งดูแลแก้ปัญหาการผลิตและปลูกข้าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้มีหลายประเทศเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 เข้ามาหาผลประโยชน์ และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจของคนไทย เพราะพบว่าปัจจุบันมีหลายประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์เริ่มรุกเข้ามาทาธุรกิจข้าวในไทยแล้ว นอกเหนือจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยใช้พื้นที่แถบภาคเหนือปลูกข้าวหอมมะลิและส่งกลับไปขายหรือบริโภคในสิงคโปร์ รวมถึงมีการจัดตั้งบริษัทค้าข้าวระหว่างประเทศขึ้นในไทยเพื่อทาธุรกิจนาข้าวไทยส่งออกไปต่างประเทศด้วย จึงห่วงว่าอนาคตเมื่อเปิดเป็นเออีซีแล้วจะมีต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัท โรงสี ค้าข้าวในไทยมากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่ได้สั่งห้าม ทาให้คนไทยที่ทำธุรกิจข้าวเดือดร้อน
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่ชาวต่างชาติเข้ามาแย่งกิจการข้าวในไทย ทั้งการเป็น นอมินี (ตัวแทน) โรงสี หรือตั้งบริษัทค้าข้าวมีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และเป็นห่วงว่าหากเกิดการเปิดเออีซีน่าจะมีชาวต่างชาติไหลเข้ามาทำธุรกิจข้าวอีกมาก กระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย ทั้งการผลิต และการค้าอย่างมหาศาล เพราะรัฐบาลยังมีความไม่แน่นอน และไม่มีมาตรการสาหรับดูแลอุตสาหกรรมข้าวเพื่อรองรับการเปิดเออีซีเลย อยากขอให้ภาครัฐสงวนอาชีพเกี่ยวกับข้าว ทั้งการค้า โรงสี ชาวนา เป็นอาชีพสาหรับคนไทย รวมถึงให้เร่งกำหนดการนาพันธุ์ข้าวเปลือกไปปลูกตามต่างประเทศ โดยอาศัยข้อกาหนดการทำคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เพื่อป้องกันการนำพันธุ์ข้าวไทยไปปลูกประเทศอื่น ทำให้ไทยเสียหายและไม่มีจุดขายในการแข่งขันได้ในอนาคต
นางเบญจวรรณ รัตนประยูร ที่ปรึกษาการพาณิชย์ กล่าวว่า จะนำข้อมูลหารือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เพื่อเร่งจัดทายุทธศาสตร์ส่งเสริมโดยเร็วที่สุด โดยจะมีเรื่องการกาหนดมาตรฐานข้าวแต่ละชนิดอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการนำปัญหาในกลุ่มสินค้าผลไม้ ท่องเที่ยว และสิ่งทอมาปรับการทำยุทธศาสตร์ด้วย
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อานวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สินค้าส่งออกหลักใน 4 ตัวนี้ ข้าวไทยมีความท้าทายมากที่สุด ทั้งปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่า ราคาแพงขึ้นมาก ทาให้การส่งออกข้าวไทยลดลงเรื่อยๆ 4 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม-เมษายน) ส่งออกข้าวลดลงเกือบ 50% และเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวนและปฏิรูปกฎระเบียบและนโยบายรัฐใหม่ โดยลดผลกระทบจากการแทรกแซงตลาดและสร้างทางเลือกทดแทนเชิงนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเรื่องราคา ให้ความสาคัญกับการค้าชายแดนและประโยชน์จากการค้าเสรี เออีซี และกาหนดมาตรฐานข้าวไทยให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้
ที่มา : มติชน


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/272#ixzz2prvvWCD4