วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ดุลการค้าและสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกมากขึ้น ในการดำเนินงานได้มีการจัดทำ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า AEC Blueprint โดยเป็น การกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2553 ส่วนประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องให้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ดังนั้นทำให้ในปี 2558 อาเซียนจะไม่มีการเก็บภาษีสินค้ากับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียน และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ส่งผลให้ GDP ของประเทศสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 ส าหรับประเทศไทยนั้นเป็นอันดับสองที่มูลค่า GDP จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.75 รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ
2. ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียน
ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนหลังจากที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 นั้น ทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,334.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,225.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 827.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ได้ดังนี้
1) การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าหลักจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 คือส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 623.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 436.8 127.4 และ 80.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
2) ยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับสอง คือ 851.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ
3) ไทยส่งออกเคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 579.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซียเพิ่มขึ้น 262.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯส าหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียมากที่สุด รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,121.6 936.1 และ 692.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าเป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1,185.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนี้
1) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มมากที่สุดเป็น 471.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 401.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2) ปิโตรเลียมจะมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุดและพม่าเป็นอันดับสอง มีมูลค่าเท่ากับ 165.1 และ 157.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก และเหล็ก โลหะ จะถูกนำเข้าเพิ่มขึ้นสินค้าละมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนเหล็กและโลหะจะถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด
เมื่อพิจารณาดุลการค้าของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หลังจากในปี 2558 ที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ลดภาษีเป็น 0% แล้ว พบว่าประเทศไทยมีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลมากขึ้นกับประเทศเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง 316.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมาเลเซีย 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นพบว่าไทยมีการขาดดุลกับพม่าเพิ่มขึ้น 66.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าปิโตรเลียมมาจากพม่าเพิ่มมากขึ้น
1) ไทยเกินดุลการค้าในสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้น 720.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
2) ดุลการค้าของสินค้าอาหารแปรรูปจะเกินดุลมากขึ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) สินค้าเกษตรและปศุสัตว์มีมูลค่าดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น 239.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลมากขึ้นกับประเทศในกลุ่ม CLMV
4) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เกินดุลมากขึ้น 184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด 147.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขาดดุลกับประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 97.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) สินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นคือแร่ต่างๆ ปิโตรเลียม และเหล็ก/โลหะ
การศึกษาพบว่า สินค้าที่ไทยจะเกินดุลการค้า และขาดดุลการค้า หลังจาก ประเทศกลุ่ม อาเซียน ลดภาษี
1) เกินดุลการค้า ได้แก่ เกษตรแปรรูป เกษตรและปศุสัตว์ ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม และเหมืองแร่
2) ขาดดุลการค้า ได้แก่ เหล็กและโลหะ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆและประเทศที่ไทยเกินดุลการค้าและขาดดุลการค้า
รายการ สินค้า ประเทศเกินดุลมากขึ้น
1. ยานยนต์และชิ้นส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
2. เกษตรแปรรูป มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ขาดดุลมากขึ้น
1. แร่ อินโดนีเซีย ลาว
2. ปิโตรเลียม พม่า มาเลเซีย
3. ข้อเสนอแนะ
1) ควรเร่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ประชาชนและภาคสังคม เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวได้ทัน
2) ผลักดันการอ านวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อประกอบการปรับตัวของภาคการผลิต


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/8#ixzz2prxODC75

ผลกระทบข้าวไทยใน AEC และการวางแผนปรับตัวให้อยู่รอด

ภาพรวมการผลิตข้าวไทยกับประเทศในอาเซียน
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนในประเทศอาเซียน สำหรับประเทศไทยนั้นข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมากมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งจากขนาดพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศกว่า 130 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีสัดส่วนถึงร้อยละ 50 หรือกว่า 62 ล้านไร่ และจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกข้าวในปี 2531 มีมูลค่า 69,352.8 ล้านบาท และเพิ่มเป็น203,219.1 ล้านบาท ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 193.0 ระหว่างปี 2531-2551 เมื่อพิจารณาการส่งออกข้าวในปี 2551 พบว่ามีสัดส่วนร้อยละ 30.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
นอกจากนี้ข้าวยังเป็นรายได้หลักของชาวนาถึง 3.7 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนเกษตร 5.6 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด และเป็นแหล่งจ้างงานเกษตรกรกว่า 4 ล้านครัวเรือน ซึ่งสามารถสร้างรายได้และความมั่นคงให้ภาคเกษตรไทยเป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกันแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตหลักและส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าข้าวของไทย คือ พม่า เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และกัมพูชา ซึ่งจากรายงานสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) สามารถพิจารณาได้ดังนี้
สรุปยุทธศาสตร์ข้าวไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย
1.1 รัฐควรให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
1.2 ควรมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้เห็นความคืบหน้าของงานตามแผนยุทธศาสตร์
1.3 ควรมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระยะ เพื่อประเมินความคืบหน้าและปัญหาในการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. สร้างตราสินค้าข้าวไทย(Thai Rice Brand) ในตลาดอาเซียน
2.1 สร้างเอกลักษณ์ข้าวไทย โดยใช้จุดเด่นในเรื่องความหลากหลายของชนิดพันธ์ข้าวและคุณภาพข้าวของไทยที่หนือกว่าของประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นจุดขายที่สำคัญ ในการสร้างความแตกต่างของข้าวไทยกับข้าวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
2.2 กำหนดตำแหน่งของข้าวไทยในในอาเซียนสำรวจความต้องการของผู้บริโภคข้าวในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างตราสินค้าที่กำหนดคุณภาพข้าวและระดับราคาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
2.3 ปรับปรุงมาตรฐานข้าวไทย ให้เป็นาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมั่นใจในคุณภาพข้าวของไทยว่ามีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้างและปลอดการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMOs)
2.4 ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกข้าวของไทยหันมาสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างจุดยืนที่มั่นคงของข้าวไทยในตลาดต่างประเทศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์
3. ปรับปรุงโฆษณาและประชาสัมพันธ์
3.1 ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่รู้จักของประเทศนั้นๆ
3.2 ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ควรมีความต่อเนื่องพอที่จะทำให้สินค้าข้าวไทยเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในทุกระดับ
3.3 ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันในการออกบูธสินค้าในห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองชิมสินค้าได้โดยตรง
4. บริหารจัดการมาตรการนำเข้าข้าวให้สามารถปฏิบัติได้จริง
4.1 กำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ
4.2 ควรออกกฎหมายกำหนดมาตรการลงโทษ ที่สามารถหยุดการลักลอบนำเข้าข้าวตามตะเข็บชายแดน
4.3 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการลดภาษีข้าว ได้มีความเข้าใจในมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ตามที่รัฐกำหนด
4.4 ด่านนำเข้าข้าวต้องมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และจำนวนด่านต้องมีความเพียงพอในการที่จะสกัดข้าวที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาในประเทศไทย
4.5 มีแผนงานในการติดตามและตรวจสอบที่แน่นอนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่กำหนดใช้ แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4.6 ต้องมีหน่วยงานในการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันการทุจริตในการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นที่ผ่านมา
ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/51#ixzz2prxGduGJ

เมื่อเปิด AEC ผลกระทบธุรกิจการเกษตร ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศต่างๆ จะทาให้ไทยขยายตลาดออกไปกว้างมากขึ้น โดยตลาดอาเซียน+6 ช่วยให้ไทยเข้าถึงตลาด 16 ประเทศ ที่มีจำนวนประชากรกว่า 3,300 ล้านคน หรือกว่าครึ่งของประชากรโลก (6,900 ล้านคน)
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดยักษ์เข้ามาทำลายร้านของชำ (โชห่วย) ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนหมื่นจำนวนแสนราย จุดมุ่งหมายส่วนหนึ่ง ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในสาขาวิชาชีพ 8 สาขานั้น แรงงานประเทศที่มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่เหนือกว่าคนไทยก็จะได้เปรียบ สามารถเดินทางเข้ามาทางานในประเทศไทยได้อย่างเสรี คนไทยอาจจะมีโอกาสตกงาน
อย่างไรก็ตาม หากไทยไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดี การเปิด AEC อาจจะส่งผลกระทบได้ เช่น
1) ผู้ประกอบการต้องแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น
2) สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะเข้ามาวางจาหน่ายในประเทศมากขึ้น และ
3) ขาดแคลนแรงงานฝีมือเนื่องจากแรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปในประเทศที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่า
สินค้าที่กังวลว่าอาจจะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น
-น้ำมันปาล์มที่ไทยต้องแข่งขันกับมาเลเซีย (มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ามันปาล์มอันดับหนึ่งของโลก)
-เมล็ดกาแฟที่ไทยต้องแข่งขันกับเวียดนาม (เวียดนามผลิตมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล)
-มะพร้าวที่ไทยต้องแข่งขันกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตมะพร้าวอันดับหนึ่งของโลก รองมาคือ ฟิลิปปินส์) และ
ชาที่ไทยต้องเตรียมแข่งขันกับอินโดนีเซีย(อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตอันดับสี่ของโลก รองจากอินเดีย จีนและศรีลังกา ตามลำดับ)
ส่วนการเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งธุรกิจบริการไทยมีความเข้มแข็ง เช่นการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการไทยสามารถรุกออกไปให้บริการในตลาดอาเซียนและขยายการให้บริการภายในประเทศแต่ธุรกิจบริการที่ไทยน่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาให้บริการของผู้ให้บริการอาเซียนและต้องแข่งขันสูงในอาเซียน ได้แก่ โลจิสติกส์และสถาปนิก ซึ่งไทยต้องแข่งขันกับสิงคโปร์ที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยีสูงกว่า
ในภาคเกษตรนับว่าเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยให้สินค้าเกษตรของ 6 ประเทศในอาเซียนมีภาษีเป็น 0% ฉะนั้นยังเหลืออีก 4 ประเทศ คือเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ที่จะปรับภาษีให้เป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศก็มีสินค้าเกษตรบางตัวเท่านั้นที่มีความอ่อนไหวที่จะต้องมาตกลงกัน เช่น ไทยมีกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งปัจจุบันกำหนดภาษีอยู่ที่ 20-40%
ที่มา: บทคัดย่อจาก สยามรัฐ


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/138#ixzz2prx8E4rw

ไทยตั้งเป้ายึดลงทุนพม่า-อินโด 9อุตสาหกรรมเด่นสู่ อาเซียน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีนโยบายทำวาระแห่งชาติและแผนแม่บทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมทั้งให้ทุกกระทรวงเร่งจัดทำแผนรายละเอียดมานำเสนอภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ โดยยึดกรอบเออีซีทั้ง 3 เสาหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรม
เร่งไทยชิงลงทุน 9 สาขา
ขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกับธนาคารทีเอ็มบีร่วมมือกันระดมนักวิชาการรวบรวมผลการศึกษาศักยภาพของแต่ละประเทศที่เอกชนไทยควรจะเข้าไปพัฒนาธุรกิจ 3 ประเทศ ได้แก่ พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย การลงทุนในอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโอกาสทองของไทย 9 สาขา ประกอบด้วย อาหาร เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อสร้าง ความงามและสปา ท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง ร้านอาหารไทย โดยจะต้องศึกษารายละเอียดกฎหมายอย่างรอบคอบด้วย ส่วนก่อนและหลังเปิดเออีซี สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยไทยจะขยายคงที่เฉลี่ยปีละ 4.5-5% อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชาจะขยายสูงสุดจาก 6% เป็น 7-8%
พม่า-อินโดฯมาแรง 
นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า พม่าเหมาะขยายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น สิ่งทอ อาหารแปรรูป เกษตรกรรม เพราะมีทรัพยากรมหาศาล แรงงานจำนวนมาก ค่าแรงต่ำ ผู้ประกอบการต้องไปฝึกทักษะแรงงาน พัฒนาสินค้าคุณภาพ หาแหล่งเงินทุน และปรับปรุงเทคโนโลยี และควรใช้แนวทางหาพันธมิตรท้องถิ่นส่งสินค้าไปทดลองตลาดก่อนตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีโอกาส ได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เครื่องจักรกล เกษตรกรรม และชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านอุตสาหกรรมอาหารสามารถเจาะตลาดพม่าได้เฉพาะชา กาแฟ ไอศกรีม ส่วนอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารสมัยใหม่อื่น ๆ ยังขายไม่ได้ เพราะชาวพม่านิยมอาหารปิ่นโต
อุปสรรคในการลงทุนได้แก่ 1.การระงับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว 2.โครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม ทั้งไฟฟ้า ปั๊มน้ำมัน เครือข่ายโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต และ 3.พม่าถูกขึ้นบัญชีดำเรื่องการฟอกเงินจาก FATF ส่วนการเมืองถือว่าวางใจได้ในระดับหนึ่งว่าการปฏิวัติจะน้อยลง
ส่วนอินโดนีเซีย ไทยมีโอกาสลงทุนด้านก่อสร้าง เพราะอีก 5-10 ปีข้างหน้า อินโดนีเซียจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เน้นขนส่งทางน้ำและถนนมากขึ้น มูลค่าการลงทุน 59,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงโครงการสร้างสะพานแขวนที่ใหญ่และยาวที่สุดในโลก ชื่อ Sunda Strait Bridge Project เพื่อเชื่อมระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา สะพานประกอบด้วยถนน 6 เลน รางรถไฟ และท่อส่งก๊าซ รถยนต์ใช้เวลาเดินทาง 60 นาที ขณะที่ความเสี่ยงในอินโดนีเซียคือภัยธรรมชาติ มีน้ำท่วมและแผ่นดินไหวประมาณ 3 ครั้ง/ปี สินค้าอาหารก็ต้องได้รับเครื่องหมายฮาลาล
นางวิจิตรา ล.เฉลิมชัยชนะ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมที่นักลงทุนไทยควรลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ
และเบเกอรี่ ธุรกิจเสริมความงามและสปา การท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรหาพันธมิตรท้องถิ่นมาดูแลเรื่องกฎระเบียบซึ่งไม่แน่นอน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินราคาแพง และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกันตามภาคเป็นอย่างดี ด้านโครงสร้างพื้นฐานของเวียดนามยังไม่ดีนัก โดยเฉพาะไฟฟ้า การตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมจึงปลอดภัยที่สุด
เบอร์ลี่ฯแนะเคล็ดลับลงทุน
นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี กล่าวว่า การลงทุนในอาเซียนต้องพิจรณาหลายปัจจัย ได้แก่ ความพร้อมของตลาด กฎหมาย คู่แข่งระดับท้องถิ่นและระดับโลก และความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศนั้น ๆ อย่างกัมพูชา และ สปป.ลาว ควรส่งสินค้าไปขายมากกว่าตั้งโรงงาน เพราะคมนาคมยังไม่ดี ตลาดเล็ก แต่คุ้นเคยกับสินค้า จึงตอบรับเป็นอย่างดี การลงทุนตั้งร้านอาหารและค้าปลีกไปได้ดี
ส่วนพม่าควรนำสินค้าเข้าไปขายก่อนจึงตัดสินใจตั้งโรงงาน แล้วจึงค่อยหาจังหวะลงทุน เพราะตัวบทกฎหมายกับแนวทางปฏิบัติอาจไม่ตรงกัน อุปสรรคสำคัญก็มีโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามประเทศได้ ค่าโทรศัพท์มีราคาแพง ขาดแคลนแรงงานฝีมือภาคอุตสาหกรรม เพราะชาวพม่าส่วนใหญ่คุ้นเคยกับเกษตรกรรม
ขณะที่เวียดนามเหมาะลงทุนด้านค้าปลีกและกระจายสินค้า ด้วยตลาดที่กว้าง เพราะประชากรกว่าครึ่งเป็นวัยทำงาน Genation Y นิยมสินค้ามีรสนิยม อุปสรรคคือที่ดินแพงมาก กฎหมายไม่พร้อมหลายเรื่อง แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ลงทุน มีท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม ส่วนวัฒนธรรมการทำงาน คนเวียดนามจะเปลี่ยนงานบ่อย และไม่ฟังคนชาติอื่น เพราะเชื่อในศักดิ์ศรีของชาติตัวเอง ในอนาคตคาดว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV จะดำเนินรอยตามประเทศไทย
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/405#ixzz2prwxCEJW

ศักยภาพ ข้าว, ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, กาแฟ, มันสำปะหลัง กับ AEC

การยกเลิกกำแพงภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร ภายใต้การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว ในภาพรวมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ฐานการผลิตเดียวกัน การขยายการส่งออก และโอกาสทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการ เนื่องจากอาเซียนจัดเป็นตลาดใหญ่มีประชากรรวมกันถึง 580 ล้านคน ทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญและได้รับความสนใจจากประเทศคู่ค้า จนมีการลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน +1 ไปแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
ความตกลงเปิดการค้าเสรี (FTA) เหล่านี้ส่งผลให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวทีระดับโลก ทั้งเวที องค์การการค้าโลก (WTO) หรือการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (APEC) และที่สำคัญการรวมกลุ่มนี้ยังได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน จากการศึกษาระบุว่า การรวมกลุ่ม AEC จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 8-10% ต่อปี และเพิ่มรายได้ที่แท้จริงอีก 5.3% คิดเป็นมูลค่า 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้ว่าการเปิดตลาดภายใต้กรอบอาเซียนจะสร้างประโยชน์ให้กับภาคการส่งออก แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกันว่า การเปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าภายในประเทศได้เช่นเดียวกัน
ข้าว
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก มีความคาดหวังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่าจะทำให้ภาษีนำเข้าข้าวของตลาดอาเซียนลดลงเป็น 0% ซึ่งจะช่วยเปิดตลาดส่งออกข้าวไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนให้ได้มากขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ว การลดภาษีนำเข้าข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, และฟิลิปปินส์ ต่างกำหนดให้สินค้าข้าวอยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง (Sensitive List) และยังคงอัตราภาษีนำเข้าอยู่ระหว่างร้อยละ 30-40 อยู่ รวมทั้งมีการใช้มาตรการที่มีใช่ภาษีในการนำเข้าข้าวด้วย
นอกจากนี้สินค้าข้าวไทยยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันในด้านราคากับประเทศคู่แข่งในอาเซียนด้วยกันเอง อาทิ เวียดนาม กัมพูชา และในอนาคตอาจจะเป็นเมียนมาร์ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตข้าวต่ำกว่าประเทศไทย ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของการส่งออกข้าวไทยในอาเซียนปรับลดลง
โดยผลศึกษาตลาดข้าวอาเซียนของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าการส่งออกข้าวเวียดนามกับข้าวไทยในตลาดอาเซียนระหว่างปี 2547-2551 ปรากฏข้าวไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับข้าวเวียดนาม นับตั้งแต่ปี 2548 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังตลาดอาเซียนมีการขยายตัว 94.2% ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 67.5% ขณะที่ไทยมีอัตราการขยายตัวเพียง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.1% เท่านั้น
และหลังจากนั้นเป็นต้นมา แม้ข้าวไทยจะมียอดการส่งออกข้าวในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวจากเวียดนามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวคุณภาพต่ำ เวียดนามมีราคาขายถูกกว่าข้าวไทยมาก ยกตัวอย่าง ราคาข้าวขาว 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามเฉลี่ย 30 เหรียญสหรัฐ/ตัน และในปี 2552 ราคาข้าวขาว 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามถึง 123 เหรียญสหรัฐ/ตัน สาเหตุที่ต้นทุนข้าวไทยสูงกว่าข้าวเวียดนามอาจจะมาจากนโยบายของรัฐบาล อาทิ การรับจำนำข้าวสูงกว่าราคาตลาดโลก ซึ่งจัดเป็นการอุดหนุนชาวนาโดยตรง ส่งผลให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้
ที่สำคัญการที่ ราคาข้าวไทยสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรับจำนำของรัฐบาล อาจจะทำให้ข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชาทะลักเข้ามาภายในประเทศผ่านตามแนวชายแดนได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เดียวกันกับกรณีของน้ำมันปาล์ม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง เมล็ดกาแฟดิบ และน้ำตาล เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สถานการณ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศก็คือ มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลให้ต้องเปิดให้มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ
จากการศึกษาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าภายหลังการเปิดเสรีในปี 2558 ที่อัตราภาษีนำเข้าข้าวโพดจะลดลงเป็นร้อยละ 0 จะมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้า
มาภายในประเทศมากขึ้น
แม้ว่าการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะแรกจะยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ในระยะยาวการนำเข้าข้าวโพดจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัททางด้านปศุสัตว์ไทยได้เข้าไปส่งเสริมการลงทุนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชชนิดอื่นๆ รวม 10 รายการในลักษณะ Contract Farming ภายใต้โครงการความร่วมมือสาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมภายใต้ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certicate of Origin : C/O) เป็นโครงการนำร่องอยู่แล้ว โดยพืชทั้ง 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ละหุ่ง, มันฝรั่ง, ข้าวโพดหวาน, มะม่วงหิมพานต์, ยูคาลิปตัส, ลูกเดือย และ ถั่วเขียว ผิวมัน ในอนาคตจะเข้ามากดราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศ เหมือนกับที่กำลังเกิดขึ้นจากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกลุ่ม ACMECS อยู่ในปัจจุบันจนต้องมีการกำหนดระยะเวลาการนำเข้าในที่สุด
ถั่วเหลือง
ปัจจุบันผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศไทยที่ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนต้องลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 ทำให้ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรงงานผลิตน้ำมันถั่วเหลืองกับ โรงงานผลิตอาหารสัตว์สามารถนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองได้ในราคาที่ถูกลง ในระยะสั้นอาจจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง เนื่องจากรัฐบาลมีระบบการนำเข้าภายใต้โควตาและบังคับให้โรงงานรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองในราคาประกัน
แต่ในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบให้จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองลดลง เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม ลาว สามารถปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าผลผลิตถั่วเหลืองไทย หากประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาผลผลิตต่อไร่และต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่าประเทศไทย จะยิ่งมีเมล็ดถั่วเหลืองราคาถูกทะลักเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น จนถูกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกดราคารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองจากเกษตรกรในที่สุด
ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรกรของไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ รวมถึง ยังส่งผลให้ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านความมั่นคงทางด้านอาหารประเภทน้ำมัน โดยน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทยถือได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก เนื่องจากเป็นน้ำมันที่มีลักษณะใส ไม่มีตะกอน และไม่เป็นไข
สำหรับพันธกรณีการเปิดตลาดสินค้าน้ำมันปาล์มตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เหลือเพียงร้อยละ
5% ในปี 2556 จากอัตราภาษีภายใต้ข้อผูกพันสินค้าเกษตรขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเดิมภาษีนำเข้าในโควตากำหนดอยู่ที่ร้อยละ 20 หากเป็นภาษีนอกโควตากำหนดอัตราไว้ที่ร้อยละ 143% อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 ได้มีการยกเลิกมาตรการโควตาภาษี แต่หันมาใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs แทนด้วยการกำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มในอัตราภาษีร้อยละ 0 ได้เพียงหน่วยงานเดียว
ส่วนการปรับลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2553 ที่ต้องปรับลดภาษีลงเหลือ 0% ประเทศไทยยังคงสงวนการนำเข้าภายใต้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เหมือนกับการนำเข้าภายใต้ AFTA ในทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดย อคส.ได้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศมาเลเซียเข้ามาเป็นระยะๆ
ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มอย่างชัดเจน เนื่องจากน้ำมันปาล์มดิบจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มดิบไทย อาจจะมีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดราคาประกันผลปาล์มทะลายให้กับเกษตรกรภายในประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบไทยสูงกว่าน้ำมันปาล์มดิบจากมาเลเซีย
ประกอบกับการทำสวนปาล์มในประเทศไทยเป็นระบบสวนขนาดเล็ก พันธุ์ปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาน้อยกว่าพันธุ์ปาล์มของมาเลเซีย ต้นทุนการผลิตของประเทศไทยจึงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น
การปรับลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มจึงส่งผลกระทบการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และผู้บริโภคในประเทศ ในแง่ที่ว่า จะต้องเผชิญกับสถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ มีราคาแพงเป็นระยะๆ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายไม่ยอมให้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ปรับขึ้นราคาตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้โอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้แข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซียคงทำได้ยากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อย ขาดการบริหารจัดการและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีการทำสวนปาล์มแปลงขนาดใหญ่ผ่านการบริหารจัดการสวนที่ดี และอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มยังไม่ได้รับการปกป้องจากรัฐบาลด้วย จึงกล่าวได้ว่า
น้ำมันปาล์มของไทยเป็นสินค้าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง หากมีการปรับลดภาษีเป็นร้อยละ 0 และเปิดให้มีการนำเข้าได้โดยเสรี
กาแฟ
ปัจจุบันเมล็ดกาแฟดิบจากเวียดนามและสปป.ลาวทะลักเข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้น หลังจากกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องลดภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟลงเหลือร้อยละ 5% ตั้งแต่ปี 2553 และเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 จะยิ่งทำให้มีการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์อาราบิก้าที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีกว่ากาแฟไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็น กาแฟพันธุ์ โรบัสต้า
เพาะปลูกในภาคใต้ของประเทศ
ประกอบกับเวียดนามมีผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่ประเทศไทยมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ทั้งของโรงงานคั่วบดและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้นทุนการปลูกกาแฟเวียดนามต่ำกว่ากาแฟไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นต้นทุนการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว ดูแลรักษา ปุ๋ย สารเคมีป้องกันศัตรูพืช และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จึงเชื่อได้ว่า หลังการเปิดเสรีในปี 2558 เมล็ดกาแฟไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับกาแฟเวียดนามและ สปป.ลาวได้ การเตรียมตัวของภาคเอกชนไทย ขณะนี้เริ่มมีการเข้าไปลงทุนปลูกกาแฟใน สปป.ลาวเพิ่มขึ้น
มันสำปะหลัง
การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลทางด้านบวกกับสินค้าเกษตรอย่างมันสำปะหลังเพียงรายการเดียว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้มากที่สุดในอาเซียน โดยครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าประเทศ คู่แข่งอย่าง เวียดนามและอินโดนีเซียค่อนข้างมาก ประกอบกับไทยมีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ต่ำกว่า
รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลังในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นโรงงานแป้งมัน โรงงานแป้งแปรรูป และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยปัจจุบันขึ้นอยู่กับการส่งออก “มันเส้น” ไปยังประเทศจีน โดยที่มันเส้นไทยจะต้องแข่งขันทางด้านราคากับมันเส้นจีน มีข้อได้เปรียบอยู่ที่เวียดนามยังไม่สามารถผลิตมันเส้นเพียงพอต่อความต้องการใช้ในตลาดจีนได้ แต่ข้อน่าเป็นห่วงในอนาคตก็คือ มันเส้นเวียดนามมีการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพมากกว่ามันเส้นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “มันเส้นสะอาด” กลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาในช่วง 1-2 ปีนี้ หลังจากที่ผู้นำเข้ามันเส้นจีนอาศัยเรื่องของความสะอาด-สิ่งเจือปน
มากดราคามันเส้นไทย
ในทางกลับกัน เมื่อรัฐบาลไทยกำหนดนโยบายรับจำนำมันสำปะหลังภายในประเทศด้วยราคาที่สูงกว่าราคามันสำปะหลังในตลาดโลก ก็มักจะเกิดปรากฏการณ์ลักลอบนำเข้ามันสำปะหลังตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา เข้ามาสวมสิทธิจำนำมันสำปะหลังภายในประเทศ เป็นปัญหาต่อเนื่องมาทุกปี แม้ว่าปริมาณการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านจะไม่มากพอที่จะส่งผลกระทบกับมันสำปะหลังไทยก็ตาม
ที่มา:หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/242#ixzz2prwOpZN1

สิงคโปร์ ใช้ประโยชน์ AEC ตั้งบริษัท ฮุบธุรกิจข้าวไทย ???

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การสัมมนาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์รายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงตลาดจากภูมิภาคสู่สากลใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ และเคหะสิ่งทอ และกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ภาคเอกชนได้แสดงความเป็นห่วงและต้องการให้ภาครัฐเร่งดูแลแก้ปัญหาการผลิตและปลูกข้าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้มีหลายประเทศเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 เข้ามาหาผลประโยชน์ และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจของคนไทย เพราะพบว่าปัจจุบันมีหลายประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์เริ่มรุกเข้ามาทาธุรกิจข้าวในไทยแล้ว นอกเหนือจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยใช้พื้นที่แถบภาคเหนือปลูกข้าวหอมมะลิและส่งกลับไปขายหรือบริโภคในสิงคโปร์ รวมถึงมีการจัดตั้งบริษัทค้าข้าวระหว่างประเทศขึ้นในไทยเพื่อทาธุรกิจนาข้าวไทยส่งออกไปต่างประเทศด้วย จึงห่วงว่าอนาคตเมื่อเปิดเป็นเออีซีแล้วจะมีต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัท โรงสี ค้าข้าวในไทยมากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่ได้สั่งห้าม ทาให้คนไทยที่ทำธุรกิจข้าวเดือดร้อน
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่ชาวต่างชาติเข้ามาแย่งกิจการข้าวในไทย ทั้งการเป็น นอมินี (ตัวแทน) โรงสี หรือตั้งบริษัทค้าข้าวมีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และเป็นห่วงว่าหากเกิดการเปิดเออีซีน่าจะมีชาวต่างชาติไหลเข้ามาทำธุรกิจข้าวอีกมาก กระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย ทั้งการผลิต และการค้าอย่างมหาศาล เพราะรัฐบาลยังมีความไม่แน่นอน และไม่มีมาตรการสาหรับดูแลอุตสาหกรรมข้าวเพื่อรองรับการเปิดเออีซีเลย อยากขอให้ภาครัฐสงวนอาชีพเกี่ยวกับข้าว ทั้งการค้า โรงสี ชาวนา เป็นอาชีพสาหรับคนไทย รวมถึงให้เร่งกำหนดการนาพันธุ์ข้าวเปลือกไปปลูกตามต่างประเทศ โดยอาศัยข้อกาหนดการทำคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เพื่อป้องกันการนำพันธุ์ข้าวไทยไปปลูกประเทศอื่น ทำให้ไทยเสียหายและไม่มีจุดขายในการแข่งขันได้ในอนาคต
นางเบญจวรรณ รัตนประยูร ที่ปรึกษาการพาณิชย์ กล่าวว่า จะนำข้อมูลหารือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เพื่อเร่งจัดทายุทธศาสตร์ส่งเสริมโดยเร็วที่สุด โดยจะมีเรื่องการกาหนดมาตรฐานข้าวแต่ละชนิดอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการนำปัญหาในกลุ่มสินค้าผลไม้ ท่องเที่ยว และสิ่งทอมาปรับการทำยุทธศาสตร์ด้วย
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อานวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สินค้าส่งออกหลักใน 4 ตัวนี้ ข้าวไทยมีความท้าทายมากที่สุด ทั้งปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่า ราคาแพงขึ้นมาก ทาให้การส่งออกข้าวไทยลดลงเรื่อยๆ 4 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม-เมษายน) ส่งออกข้าวลดลงเกือบ 50% และเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวนและปฏิรูปกฎระเบียบและนโยบายรัฐใหม่ โดยลดผลกระทบจากการแทรกแซงตลาดและสร้างทางเลือกทดแทนเชิงนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเรื่องราคา ให้ความสาคัญกับการค้าชายแดนและประโยชน์จากการค้าเสรี เออีซี และกาหนดมาตรฐานข้าวไทยให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้
ที่มา : มติชน


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/272#ixzz2prvvWCD4